วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หลวงพ่อแหวน สุจิณฺโณ รุ่น ปักกลด อ.คำบ่อ ปี ๑๖ .







หลวงพ่อแหวน สุจิณฺโณ รุ่น ปักกลด อ.คำบ่อ ปี ๑๖ .

พระเนื้อผงรุ่นนี้ถือเป็นรุ่นสามของหลวงปู่ครับ ซึ่งจัดสร้างโดยพระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ ซึ่งอยู่บนวัดดอยแม่ปั๋งเป็นลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่แหวน ปัจจัยที่ได้ทั้งหมดนำไปบูรณะวัดพระเจ้าตนหลวง ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว ซึ่งขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมเหลือเกิน โดยพระพิมพ์ที่สร้างพร้อมกันนี้มีด้วยกัน ๔ พิมพ์คือ๑.แบบพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมขนาดองค์พระกว้าง ๒ ซ.ม. สูง ๓ ซ.ม. เนื้อผงสีน้ำตาลผสมว่านและเกสรดอกไม้ พร้อมกับเกศาหลวงปู่แหวนด้วย จำนวนสร้างไม่ทราบแน่ชัด ให้บูชาองค์ละ ๕๐ บาท ด้านหลังมีทั้งแบบหลังยันต์, หลังเรียบ และพิมพ์สองหน้า (ส่วนตัวผมที่พบเห็นมา พิมพ์สมเด็จฐานสามชั้นนี้แบ่งเป็น ๓ พิมพ์คือ พิมพ์พระประธาน, พิมพ์ทรงเจดีย์ และพิมพ์ฐานแซมครับ)๒. แบบพิมพ์สี่เหลี่ยมรูปหลวงปู่แหวนนั่งขัดสมาธิใต้กลด หรือที่เราเรียกว่าพิมพ์ปักกลด ด้านล่างเขียนว่า "หลวงพ่อแหวน สุจิณโณ" ด้านหลังเป็นยันต์ ยังไม่ปรากฏเป็นหลังเรียบครับ มวลสารที่ผสมคล้ายกับพิมพ์สมเด็จ แต่ที่พบโดยมากจะมีสีออกเหลืองอ่อนหรือสีออกแดงอ่อนๆ ถ้าเนื้อละเอียดมากๆจะเป็นของอ.เจริญ ที่ขอยืมพิมพ์ไปกดภายหลังครับ จะนิยมน้อยกว่าของอ.คำบ่อ ขนาดพระใกล้เคียงพิมพ์สมเด็จ ให้บูชาองค์ละ ๕๐ บาทเหมือนกัน๓. แบบพิมพ์พระพุทธนั่งขัดสมาธิใต้ซุ้มกนกและมีพระสาวก ๒ รูปด้านข้าง หรือมักเรียกว่าพิมพ์พระพุทธชินราช ขนาดองค์จะเล็กกว่าทั้ง ๒ พิมพ์ข้างต้น มีขนาดกว้าง ๑.๕ ซ.ม. สูง ๒ ซ.ม. สีที่พบมักเป็นสีครีมเข้ม๔. แบบพิมพ์พระปิดตา ขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย ด้านหลังอูมสวยงาม มีทั้งสีออกขาวนวลและสีครีมเข้มทั้ง ๔ พิมพ์นี้ มักปรากฏเกศาและผงตะไบของเศษพระพุทธรูปเก่าด้านหน้าองค์พระตลอดครับ มากบ้างน้อยบ้างเป็นเสน่ห์ของพระพิมพ์นี้อย่างมากครับ.


เทศน์ของ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ***

ณ วัดดอยแม่ปั๋ง กัณฑ์ที่ ๑

ถาม – หลวงปู่มีอะไรจะแนะนำในเรื่องการปฏิบัติทางจิตบ้างครับ

ตอบ – จะเอาทางจิตทางใจก็แ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นี้มีขึ้นที่ใจอย่างเดียว รักษาแต่ใจอย่างเดียวให้แน่นหนา รักษาแต่ใจอย่างเดียวตลอดชีวิต รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถสิบ รักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์ นี่เป็นเบื้องต้น

เวลา อยู่ในคนหมู่มาก ได้พูดกับคนหมู่มาก บางทีก็จะลืมตัวไป จงมองเข้ามาดูใจนี้ ใจนี้เป็นใหญ่ คุมกายกรรม วจีกรรม ให้รู้เข้ามาในกาย ให้มองมาดูใจนี่แหละ เอาใจนี้เป็นผู้รู้ ใจนี้เองน่ะแหละเป็นผู้หลง ใจนี้แหละเป็นผู้ละ ปฏิบัติกายวาจาใจนี่ให้เรียบร้อย กายนี่ก็ออกไปจากใจนี่แหละ ให้พิจารณา กายนี่เขาก็ไม่เที่ยง ใจนี่เขาก็ไม่เที่ยง

แปด หมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ก็ชี้เข้ามาที่ใจนี่แหละ ใจนี้เป็นเหตุ ให้ใจนี้ละ ให้ใจนี้วาง ให้ใจนี้ถอน ถอนทุกสิ่งทุกอย่างหมด มันจึงจะได้

ถอน ทีแรกก็เอาใจนี่แหละถอน ถอนอยู่ที่ใจนี้ ละอยู่ที่ใจนี้ วางอยู่ที่ใจนี้ ให้ใจนี้รักษา ต้องรักษาตา รักษาหู รักษาจมูก รักษาลิ้น รักษากายวาจานี้แหละ

รูป มาทางตานี่ ก็นึกที่ใจ พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี ก็ที่ใจนี่แหละ เอาศีลนำออกมาให้หมดจากใจของตน ละออกจากใจนี่แหละ เอาใจนี่วาง เอาใจนี่ถอนมันให้หมด เวลาไปหาหมู่มาก พูดไปพูดมาแล้วก็หลง มันหลงใหลอยู่เท่านั้นแหละ ต้องน้อมเข้ามาที่ใจของตน สิ่งใดก็ตามเถอะ ให้น้อมเข้ามาสู่ใจ

แปด หมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ก็ชี้เข้ามาที่ใจของตน อุปัชฌายะสอนก็สอนเข้ามาถึงกายนี้แหละ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ปัญจกกัมมัฏฐาน กายคตากัมมัฏฐาน ฐานที่ตั้งของกายนี้แหละ กายเขาไม่รู้แจ้ง จะรู้แจ้งก็รู้แจ้งที่ใจนี่แหละ เอาใจละสิ่งทั้งหลายที่มาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มาทางตา ที่พอใจก้ดี ม่พอใจก็ดี มาทางหู ที่พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี มาทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ที่พอใจก็ดี ที่ไม่พอใจก็ดี เอาศีลนี่แหละนำออกเสียด้วยปัญญาของตนออกไปจากใจนี้

ใจ เป็นผู้รู้ ผู้ละ ผู้ถอน ผู้วาง รับเอาทุกเรื่องก็ไม่ไหวละ มันเป็นธรรมเมาเท่านั้นแหละ

เรื่องอดีต อนาคตก็ใช้ปัญญานำออกให้หมด ตัดอดีต อนาคตหมดอย่าให้มันเหลือ อดีต อนาคตมันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ตัดอดีตอนาคตออกแล้ว ให้จิตนิ่งอยู่กับปัจจุบัน เดินอยู่กับปัจจุบัน ว่างอยู่กับปัจจุบันวางอยู่กับปัจจุบัน มันจึงเป็นพุทโธ มันจึงเป็นธรรมโม สังโฆ อยู่นี่แหละ

มัว เอาที่อื่นก็ไม่ไหวละ รักษาตา รักษาจมูก รักษาลิ้น รักษาหู รักษากาย ใจ ให้ตลอด เวลาพบคนมาก มันก็ต้องมีหลายสิ่งหลายประการ พูดอยู่ก็ต้องน้อมเข้ามาหาใจ มากำหนดให้รู้ใจของตน อุปาทานทั้งห้ามันเกิดมาจากใจนี่แหละ อนิจจังทั้งห้ามันก็เกิดจากใจนี่แหละ เหตุมันก็มาจากใจนี่แหละ ทุกขังทั้งห้าก็ดี อนัตตาทั้งห้าก็ดี นิจจังทั้งห้าก็ดี มันเป็นนิจจัง มันอยู่คงที่ มันเที่ยงอยู่ อนัตตาทั้งห้ามันวางหมด แล้วทีนี้มันเป็นอัตตาตั้งอยู่ภายใน ยึดเรื่อยไปก็เป็นอัตตา แต่อาศัยอนัตตาอยู่ เพราะว่าไปพิจารณาอยู่

อุปัชฌาย์ สอน ก็ชี้ลงที่กายนี้เสียก่อน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นึกถึงปัญจกัมมัฏฐาน กายคตากัมมัฏฐาน เวลาได้โอกาสก็ให้นั่งทำความสงบ ทุกข์มันจะเกิดขึ้น มันก็เกิดที่นี่ ที่ใจนี่แหละ เจ็บแข้ง เจ็บขา เจ็บหลัง เจ็บเอวก็เกิดขึ้น กำหนดทุกข์เข้าจนรู้เหตุรู้ผล รู้เหตุว่ามันนำทุกข์มาให้เสวย เหตุดับ ทุกข์ดับ ปัจจัยของเราก็ดับ อวิชชาความมืดก็ดับ

นี่ แหละให้หมั่นตั้งใจรักษา ศีลก็บัญญัติลงที่ใจนี่แหละ สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี บัญญัติลงในกายในใจนี่แหละ สองอย่างเท่านี้แหละ รุ้ทางกายก็วางไว้หมด รู้ทางกาย ก็ชวนเข้ามาที่ใจนี้แหละ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์รุ้ที่ใจนี้แหละ ใจจึงเป็นเหตุ ก็เอาใจนี่แหละละ ก็เอาใจนี่แหละถอน เอาใจนี่แหละวาง วางอยู่ที่ใจนี่แหละมันจึงจะใช้ได้ ถ้าไปเอาอันอื่นมาละ มันใช้ไม่ได้หรอก

ที่ อุปัชฌาย์สอนก็สอนที่กายนี้ ดีสงบก็ที่กายนี้ ดีสงบก็ที่ใจนี้ คิดดีก็ใจนี้ คิดชั่วก็ใจนี้ ดูไป ๆ มันก็ได้กำลังนะ เอาเข้า ๆ มันก็ได้กำลัง เบิกยา รูแจ้งเห็นจริง ผู้ปฏิบัติน้อมเข้ามาปฏิบัติกาย วาจา ใจ ธรรมะเกิดขึ้นในดวงใจนี้ เวทนาคือตัวกรรม ไม่ใช่มีกับเราเท่านั้น เวทนาคือตัวกรรมบุญ เวทนาคือตัวกรรมบาป น้อมทเข้ามาที่นี่จนถึงอัพยากตธรรม ทางนี้ไม่มีกิเลสหนา อัพยากตธรรมเป็นฐาน น้อมเข้ามาที่นี่ พูดมากคุยมากมันก็มากไป จงหยุดน้อมเข้ามาในใจเสียก่อน เดี๋ยวจะลืมไป

เอา แค่นี้ก็อยู่ได้ เอามามากมายก็จะทุกข์ ใจนี่มันคิด ใจนี่มันทุกข์ ตัดออกให้หมด ไม่คิดไม่นึก เมื่อไม่คิด จิตของเราก็ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ได้ไปที่ไหน รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ทั้งห้า นำเอาเข้ามาหมักหมมไว้ในใจ ให้เขาผ่านไป ไม่เก็บเข้ามา ใจก็เป็นปกติ ไม่ไปที่ไหน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นปกติ รูป เสียง กลิ่น รสนี่เป็นธรรมดาโลกนะ ดีเขาก็ว่า ชั่วเขาก็ว่า ร้ายเขาก็ว่า ก็มีอยู่อย่างนี้แหละ รักษาจิตให้ดี ทำทุกวัน เวลาได้โอกาส พักผ่อนให้ทำไป ทำให้มาก มันก็ทำจิตให้เบิกบานผ่องใส

ถาม – การที่จะรักษาความสงบควรทำแบบไหนครับ

ตอบ – ให้ใจนี้ละ อันใดที่ยังคงขัดข้องอยู่ในใจนี้ ให้ละ จาโคปฏินิสสัคโค สละคืนเสีย ให้เขาเสีย ของเราก็มีอยู่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของเรามีอยู่ครบแล้ว ชั่วก็มี ดีก็มี เวทนาก็มี อะไรก็มีหมดทุกสิ่งทุกอย่าง เราไม่ต้องเอาของเขา มันก็วางได้ มันก็จาโคปฏินิสสัคโค สละคืนให้หมด เอาออกจากใจให้หมด หาอุบายถอนออกจากใจนี่ อย่าให้มันหมักหมมอยู่ มันเป็นทุกข์

ถาม – จะรู้ได้อย่างไรว่า ใครเคยเป็นอะไรมาแต่ชาติก่อน ๆ

ตอบ – อันนั้นมัน วิชชาจรณะสัมปันโน ต้องพร้อมด้วยวิชชาสาม มีปุพเพสันนิวาสานุสสติญาณ เหมือนครูอาจารย์มั่น ท่านศึกษาจนรุ้ดีว่า ท่านปรารถนาพุทธภูมิมานี่ได้กี่ภพกี่ชาติกี่อสงไขย หรือพระพุทธเจ้าได้พยากรณ์ไว้แล้ว สาวเข้าสาวเข้าก็ถึงวันที่ตั้งความสัตย์ ปรารถนาพุทธภูมิ แต่ที่ ตาย ๆ เกิด ๆ นี่ก็หลาย ตายก็เพราะกาม เกิดก็เพราะกาม ทุกข์ก็เพราะกาม สุขก็เพราะกาม

ท่าน มองดูชั้นฟ้าท้องฟ้าจนจดพุทธภูมิ พุทโธ่ เราจะมาตายมาเกิดอย่างไม่มีกำหนดอีกแล้ว จากนั้นท่านก็เร่งความเพียร จนตีสองก็ได้วิชชาสอง คือ จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ภพนี้ ดับที่นี้ ไปเกิดที่โน้น ภพโน้น ดับที่โน้น ดับที่นี่ไปเกิดที่โน่น ดับที่โน่นไปเกิดที่นั่น อันนี้ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ วิชาชั้นสาม รุ้จักกิเลสของตนว่าสิ้นไปหมดไป กิเลสของกายวาจาสิ้นไปหมดไป กิเลสของใจเราสิ้นไปหมดไป เรามีกรรมเป็นอันขาด มีกรรมอันไม่งอกแล้ว จิตดวงหลังดับไปอยู่แล้ว อาศัยกำลังทั้งห้า คือกำลังศรัทธา กำลังความเพียร กำลังสติ กำลังสมาธิ กำลังปัญญา ให้รู้แจ้งชัชวาล เพื่อดับขันธปรินิพพาน เราไม่ยินดีจะก่อภพใหม่อีก ก็หมดเรื่องไป

ถาม – หลวงปู่มีอะไรเกี่ยวข้องกับใครบ้างไหม

ตอบ – นิมิตต่าง ๆ มันต้องศึกษา พอรู้เท่าแล้วก็วาง ๆ ๆ เข้าไปเล่นวนอยู่ก็เป็นธรรมเมาละ ประเทศชาตินี่ก็อาศัยคนมาก จะตั้งทางไหน ก็ตั้งอยู่กับความยุติธรรม จะตั้งทางไหน ก็หมั่นทำ ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ มันเกิดอะไรเบียดเบียนละก็น้อมเข้ามาหาใจ ให้มันสงบก็สบายเท่านั้นแหละ ให้รู้อยู่กับปัจจุบันนี้แหละ มันจึงเป็นพุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำอยู่แค่นี้ก็พอแล้ว ความเกิดแก่เจ็บตายมันเป็นกงจักร กงจักรมันบดสัตว์ ความเกิดแก่เจ็บตาย มันเป็นของจริงเมื่อเรายังมีภพมีชาติอยู่ เวลาหยุดพักผ่อนก็ให้ทำความสงบทันที ปฏิบัติที่ใจนี้ คนมันมาก พูดกับคนนี้ก็เป็นอย่างหนึ่ง กับคนโน้นก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง มันไม่ลงรอยกันสักที อายุสังขารของเรามันก็เต็มที่แล้ว วันคืนเดือนปีมันก็สิ้นไปหมดไป เราจะทำอะไรอยู่ก็ตามก็ต้องหมั่นทีจิตของเราไปเรื่อย ๆ เวลาธาตุทั้งสี่ ขันธ์ทั้งห้า จะพรากจากกัน ดินก็ไปเป็นดินของเก่า น้ำก็ไปเป็นน้ำของเก่า ไปมันก็ไปเป็นไฟของเก่า ลมก็ไปเป็นลมของเก่า อากาศธาตุมันก็วางไว้อย่างเก่านั่นแหละ เหลือแต่ใจ ดินก็ไม่ใช่ใจ น้ำก็ไม่ใช่ใจ ไฟก็ไม่ใช่ใจ ลมก็ไม่ใช่ใจ แต่เราก็อาศัยสิ่งเหล่านี้แหละ นี่มันก็เป็นสมบัติของบิดามารดา นะ กับ โม นี่แหละสมบัติ ของดี จะไปตั้งศีลก็อาศัยสมบัติของบิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย นี่แหละ เวลาจะทำบุญสุนทานก็อาศัยสมบัติของบิดามารดาเป็นที่ตั้ง จะเล่าเรียนวิชาของโลกมันก็เอาสมบัติของบิดามารดานี่แหละเป็นที่ตั้ง

ถาม - ทำไมคนบางคนอยากจะทำชั่ว ทำไมคนบางคนอยากจะทำดี คนทำชั่วก็ไม่มีโอกาสทำความดี เพราะคิดแต่จะทำชั่ว

ตอบ – มันเป็นเพราะกรรมนั่นแหละ เจตนามันก็กรรมนั่นแหละ เจตนาเป็นตัวกรรมบุญ เจตนาเป็นตัวกรรมบาป เจตนาทั้งนั้นแหละทั้งสองอย่างนี้ เจตนาหํ ภิกฺขเว วทามิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เจตนานี้เป็นตัวกรรม กรรมดี กรรมชั่ว เจตนาที่เป็นกรรมบุญ ตัวอย่างเช่น เจตนาที่จะรักษาศีล วันนี้จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา จะรักษาใจให้ผ่องใสแผ้ว ทำความพอ มีขันติ ความอดทนทั้งกายและใจ อดีตอนาคตไม่ต้องเกี่ยว อตีตาธัมเมา อนาคตาธัมเมา

ถาม – คนที่ทำชั่วก็ต้องตกนรกไปเรื่อย ๆ เขาจะมีทางแก้ตัวไหม

ตอบ – ไม่มีหรอก ทำกรรมด้วยกายวาจาใจไว้แล้ว เจตนาฆ่าสัตว์ก็ดี เจตนาลักทรัพย์ก็ดี เจตนาทุกอย่างนั่นแหละ มันมีกรรมมาก เจตนามันเป็นกรรมชั่ว เจตนาหํ ภิกฺขเว วทามิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสก อุบาสิกาก็ดี เจตนานี้เป็นตัวกรรม ให้เจตนาเป็นกรรมบุญ ให้ตั้งอยู่ในเจตนาที่จะรักษากายให้จริงกาย จริงวาจา จริงใจนี่ ไม่ให้มันฟุ้งซ่านรำคาญไป ทำความพอหมด ตาก็เป็นปกติอยู่แล้ว หู จมูก ลิ้น กายก็เป็นปกติอยู่แล้ว ใจก็เป็นปกติอยู่แล้ว ใจไม่ได้ไปที่ไหน ใจบริสุทธิ์นี้ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ไปที่ไหนดอก มีแต่สัญญานี่ไปจำเอา ๆ มาหมักหมมไว้ที่ใจดอก ใจนี่มันก็เดือดร้อนเท่านั้น เดี๋ยวก็คุบ (ตะครุบ) โน่น คุบนี่ เดี๋ยวก็ง่วงเหงาหาวนอน เจ็บหลัง เจ็บแข้ง เจ็บขา เอาละ ขี้เกียจแล้ว จะนอนก็นอนเสีย หลับมาทุกวันทุกวันแล้ว ...............(มีเสียงรบกวน ฟังไม่ออก) ............................จะ ขึ้นรถหรือขึ้นเรือบิน ขึ้นคอปเตอร์หรือรถเรือทุกชนิด ก็ให้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทุกครั้ง นั่งไปเรื่อย ๆ ไม่ได้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หากไปฝ่าอันตรายเข้าก็ใจหายและกลัวอันตราย ให้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ ขออานุภาพปกเกล้าปกกระหม่อม ให้ปราศจากภัยอันตรายทั้งหลาย ให้ไปเป็นสุข ถึงรถจะไปคว่ำลงหรือชนกันก็บ่เป็นหยังดอก

มี คนหนึ่งขึ้นเครื่องบินไปชายแดน เครื่องบินไฟไหม้ ตกลง คนตายหมด ผู้นั้นผู้เดียวรอด เขานั่งเครื่องตกสามเที่ยวแล้วยังไม่เป็นอันตรายสักที “อู๊คิดถึงหลวงปู่” เขาว่า

นึกถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นที่ตั้ง มันก็ผ่านพ้นภัยอันตรายทั้งหลายได้ .......(เสียงแทรก)..........ไม่ สำเร็จหนา มันจะนำมาแล้วก็วุ่นวายอยู่ในจิตใจนี้ นั่นแหละอดีต ต้องตัดอดีตอนาคตให้มันเป็นแห่งเดียวกันเสีย มันมาแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว พระร้ายก็มี พระดีก็มี พระวุ่นก็มี มันก็วุ่นด้วยกามตัณหานี่แล้ว ความพอใจก็ตัณหานี่แหละ ภวตัณหาก็ดี วิภวตัณหาก็ดี ความพอใจก็ตัณหานี่แหละ ความไม่พอใจก็ตัณหาอันนี้แหละ รักเกิดขึ้นก็นำออกเลย กรรมเกิดขึ้นก็นำออกจากจิตใจของตนเสีย ต้องละมันให้หมด แล้วก็สบายเท่านั้นแหละก๊า มีรัก มีชัง รู้เท่ามันเป็นจริงอย่างนั้นแหละ

ถาม – หลวงปู่ให้ละวางให้หมด อย่างบางคนเรารักเขา แล้วก็ละวาง อย่างนี้เรียกว่าใจร้ายไหม

ตอบ – จะนำมาหลายสิ่ง มันเลยรก มันก็อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่แหละ ศีลห้าก็ประจำอยู่ที่นี่ ขาสอง แขนสอง หัวหนึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ทั้งห้านี่ก็ปล่อยให้เขาผ่านมาแล้วผ่านไป ผ่านไป เท่านั้นแหละ ดีหรือร้าย ดีเขาก็ว่า ไม่ดีเขาก็ว่า ว่าอยู่เรื่อย เต็มโลก เต็มบ้านเต็มเมือง เราก็วางเสีย อย่าเอาเข้ามาหมักไว้ในใจของตน วางเสียตรงนี้แหละ ละเสียที่ใจนี้แหละ ไม่ได้ไปละที่อื่น เอาใจนี่แหละละ มันจึงใช้ได้หนา อย่าไปพกแผนที่ ดูแผนที่ ดูทิศ ดูทาง จำได้มาก ๆ พูดกันได้ แต่เอาไปทำเมืองไม่ได้หนา มันต้องเข้ามาหากาย บัญญัติลงที่กายนี้ บัญญัติลงที่ใจนี้ รวมอยู่นี้ ละก็ละอยู่ในกายในใจนี้แหละ ไม่ได้ไปละที่อื่นหนา อดีตอนาคตก็มาละอยู่ที่ใจนี้ มันนำมาก็คุบอยู่นั่นแหละ คุบไป คุบมา ก็เดือดร้อนแล้ว

ต้อง รู้เท่ามันนี่แหละ ตัดก็ตัดอย่างนี้แหละ เวลาที่เราทำจิตใจของเราให้สงบแล้ว มันก็สว่างหมด ทาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งอดีต อนาคต ให้นำออกให้หมด ใจเราไปเก็บมาหมด อดีต อนาคต แล้วก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่เรื่อย มันต้องทำความพอ เวลานี้เราจะทำจิตทำใจของเรา วางหมดน่ะแหละ อะไรก็เห็นมาพอแล้ว ได้ยินมาพอแล้ว ทางฝ่ายโลกก็ดี ได้ยินมาพอแล้ว อย่าเอาเข้ามาหมักไส้ในใจอีก

กงจักร อันใหญ่หลวงคือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย มันกำลังบดเราอยู่ มันเป็นของจริง เราจะมัวไปหอบเอาอันโน้น อันนี้มา มันก็เป็นธรรมเมาเท่านั้นแหละ

อารมณ์ ก็สัญญานี่แหละ สัญญาไปจำมันมา ใจเรารับมันมา คิดไป คิดมา มันก็เดือดร้อนอีก เวลานี้เรามาทำความพอ อะไร ๆ ก็ให้มันพอ หลงก็พอแล้ว โลภก็พอแล้ว โกรธก็พอแล้ว อันนี้เป็นรากเป็นเง่าของกิเลสตัณหาทั้งหลาย ความพอใจก็เพราะตัณหา ความไม่พอใจก็เพราะตัณหานี่แหละ

กาม ตัณหานี่อุปมาเหมือนน้ำในแม่น้ำลำธารเล็ก ๆ น้อย ๆ นับไม่ถ้วน ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีเต็มสักที อันนี้ฉันใดก็เหมือนกันนั่นแหละ มันก็ไหลลงไปของมันนั่นแหละ อันนี้ตัณหามันไม่พอ เราจะทำความพอใจอยู่เดี๋ยวนี้ ทำใจให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในสมาธิ เราทำความพออยู่เดี๋ยวนี้ อย่าเอามาเว้าอีก

อดีต อนาคตหมดแล้ว ดับไปหมดแล้ว กวาดออกหมดแล้ว ตัณหานี่มันไม่มีพอหรอก แต่เวลานี้เราจะนำเอาตัณหาความไม่พอนี้ออกเสีย เวลานี้เราจะทำจิตทำใจของเรา ทำกายของเราให้รู้แจ้งในภายในของเรานี้ นอกนั้นปล่อยหมด วางอยู่ที่ใจนี้แหละ ละอยู่ที่ใจนี้แหละ บนสังขารนี้แหละ

สังขาร มันปรุงมันแต่ง มันเกิดมันดับ โทษทุกข์ภัย ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ว่าอยู่นี่แหละ นี่มันว่าจากสังขารก๊า มันปรุงมันแต่งขึ้น เป็นโน่นเป็นนี่ อดีต อนาคต มันก็เป็นนี่ ตัดนี่แหละ จิตก็นิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่กับปัจจุบัน ละอยู่กับปัจจุบัน ละที่จิตนี่แหละ จะไปละที่ไหน จะหอบเอาก็ไม่ได้หนา มันเสียเวลา เวลานี้เราทำความพอใจให้หมด ทำจิตใจให้ผ่องใส รู้แจ้งในมรรคในผล ในสมาธิ ปัญญา

ใจ นี่แหละละอยู่นี่แหละ วางอยู่นี่แหละ จะไปวางที่ไหน อดีตอนาคตก็วางอยู่ในใจนี่แหละ เอาใจนี่แหละละ เอาใจนี่แหละถอน ถอนเอา ถอนเอา รู้เท่าอารมณ์นี้แล้วมันก็วางหมด อารมณ์มันก็ใจ ใจมันก็เป็นปกติ ตามันก็ปกติ หู จมูก ลิ้น กาย มันก็ปกติ มีแต่รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ทั้งห้านี่ก็ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา แล้วก็พอแล้ว ไม่ให้มาหมักไว้ในใจ ใจมันก็ไม่เดือดร้อน ความโลภ ความโกรธ ความหลงเหล่านี้ เรามีอยู่ทุกอย่าง กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด มันก็มีอยู่ที่นี่แหละ อย่าไปหอบเอามา ความหลงมันก็มีอยู่ที่นี่ ความโง่ก็มีอยู่นี่ อวิชชาความมืดก็มีอยู่นี่ ของเราก็ถมเถไปแล้ว ไม่ต้องเอาของใคร

มัน ก็ต้องถอนไปเรื่อย ๆ แหละ เอาใจนี่แหละถอน ที่ร้ายก็ผ่านมา ที่ดีก็ผ่านมา ผ่านมาหมด ใจนี้ก็เป็นกลาง มีอิสระเท่านั้น อิสระแล้ว ใจนี้ก็หัวเราะ ธรรมทั้งหลายที่ดีก็ดี ที่ชั่วก็ดี มันไหลมาจากเกตุ ครั้นรู้เท่าเหตุแล้วมันก็ดับ อวิชชาก็ดับ รู้แจ้งเห็นจริงไปหมดละ ใจมันสำคัญนี่ เหตุมันเกิดจากใจนี่แหละ พอละก๊ะ ตั้งต้นหัดเอาละก๊ะ อธิษฐานไว้ เวลานี้ได้โอกาสที่ว่าง เราจะทำจิตทำใจของเรา ทิ้งทั้งหมด พอหมดแล้ว ผ่านมาพอแล้ว วางหมด

ถ้า มีสัจจะ จริงกาย จริงวาจา จริงใจนะ ไม่หลงไปตามเขา อารมณ์ทั้งหลายนี้ที่ผ่านมา อดีตอนาคตก็เพราะอารมณ์ เราจำเอามาหมักไว้ในใจ มันก็เดือดร้อน ทำความพอหมด ความโกรธ ความโลภ ความหลงทีมันเป็นเง่าเป็นกกแห่งกิเลสทั้งหลาย เราจะวางให้หมด ละให้หมด

กิเลส มันมาทุกด้าน ความพอใจ ความไม่พอใจมันก็กิเลสนั่นแหละ ความรักความชังนั่นก็กิเลส ตัวกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาไม่มีที่พอ พอละก๊า เวลานี้เราจะทำใจให้พอทุกอย่าง ใจนี้เป็นผู้ละ เป็นผู้วาง ผู้ถอนหนา ใจนี้แหละเป็นตัวเหตุ มันจำมา จำมา แล้วก็มาคิดมาอ่าน แล้วบางทีจะนั่งก็มาเจ็บหลัง เจ็บเอว ง่วงเหงาหาวนอน มันไม่ได้ธรรมนี่ จะว่าพุทโธ ๆ มันก็กลายเป็นธรรมเมาไปเสียแล้ว ต้องละอยู่ในใจนี่ สางอยู่ในใจนี่ ทำความพอใจอยู่ในใจนี่แหละ ตั้งความสัตย์จะทำจริง จริงกาย จริงวาจา จริงใจ เท่านั้นแหละ เมื่อจิตมันละหมดแล้ว วางหมดแล้ว มันก็มีแต่ดวงใจที่บริสุทธิ์เท่านั้นแหละ แจ้งในพระนิพพานก็แจ้งนั่นแหละ แจ้งที่ใจที่เป็นปกติอยู่นั่นแหละ

ถาม – จิตเทียมมันเป็นอย่างไร

ตอบ – จิตเทียมมันก็สังขารนั่นแหละ มันสมมติเป็นจิตเทียมนั่นแหละ ความเกิดความดับ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา มันก็มาจากสังขารนี่ นั่นแหละจิตเทียม จิตแท้ ๆ จิตบริสุทธิ์ แล้วมันก็ไม่มีจิตเทียมหรอก ละได้แล้ว จิตบริสุทธิ์แล้ว มันก็สบาย

(เทป ของมูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ ผู้ถอด)

**********************************************************

สุจิณฺโณรำลึก

คัดลอกจากหนังสือชื่อ เดียวกัน

จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน

เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

เทศน์ของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

ณ วัดดอยแม่ปั๋ง กัณฑ์ที่ ๒***

๑๐ ธันวาคม ๒๕๑๕

.......เทศน์ ภายในเลยมันจึงเหมาะ ถ้าเทศน์ภายนอกนี่มันคล้ายกับแผนที่ตำรับตำรา พอปานกับเครื่องกระจายเราต้องเทศน์ภายใน

.......จะเอาอย่างใดอีก ตำรับตำราทางบ้านท่านฟังมาเต็มที่แล้ว จะฟังก็ในกายเท่านั้นแหละ ทีนี้ ให้ภาวนาเอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล จะพากันละอุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ ละรูปธรรม นามธรรมนี้ วางได้มันก็เป็นธรรมนั่นแหละ วางไม่ได้มันก็ยึดเอารูปธรรมนามธรรมเป็นตนเป็นตัว มันก็เป็นธรรมเมาอยู่นั่นเอง

พิจารณา สังขาร นามรูป ที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ อุปาทานทั้ง ๕ มีรูปูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่หนึ่ง เวทนูปาทานักขันโธเป็นอุปาทานที่สอง สัญญูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่สาม สังขารูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่สี่ วิญญูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่ห้า ครั้นค้นคว้าอยู่ในธาตุสี่ ขันธ์ห้า วางธาตุสี่ ขันธ์ห้านี้ได้แล้วละก็ ภาวนาสงบดี ครั้นเวทนาดับลง สัญญาดับลง สังขารดับลง วิญญาณดับลง รูปธรรมส่วนสมมติเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม วางได้แล้วมันก็สบาย จิตก็สงบลง

ชำระ ศีลห้าของตนให้บริสุทธิ์ ทางตานี่ก็เป็นศีลประเภทหนึ่ง ทางหูก็เป็นศีลประเภทหนึ่ง นำความผิดออกจากตา ออกจากหู ออกจากจมูก ออกจากลิ้น ออกจากกาย ทั้งสี่ ทั้งห้านี้แหละ ศีลทั้งห้าก็อันนี้แหละ นำความผิด ความยินดียินร้ายออกจากจิตใจของตนให้บริสุทธิ์หมดจด ทำให้เป็นไป จะเอาพุทโธเป็นบริกรรมก็เอา หรือจะเอาธัมโมเป็นบริกรรม เป็นมรรคภาวนาก็ได้ เคยทำกันมาแล้วกระมัง

ครั้น ได้พุทโธ พุทโธ นี้เป็นอารมณ์ของจิตใจอยู่เป็นนิจ เวลาเอาเข้าหนักเข้า หนักเข้า ลมมันก็สงบได้เหมือนกัน แต่รักษาไว้อย่าให้เป็นธรรมเมา พุทโธ พุทโธ นี่นะ พุทโธ พุทโธ กลายเป็นธรรมเมา ธัมโม ธัมโม มันไม่เป็นธัมโม มันกลายเป็นธรรมเมาไปเสีย สังโฆ สังโฆ พวกนี้เป็นอารมณ์ของใจ ให้ดิ่งอยู่เป็นอันหนึ่ง นาน ๆ เข้าจิตใจก็สงบลงเป็นสมาธิได้เหมือนกันนั่นละ

รักษา ธรรมเมานี้ไม่ให้เกิด อดีตธรรมเมา อนาคตธรรมเมา อดีตที่ล่วงแล้วมันนำมาหเป็นธรรมเมา อนาคตยังไม่มาถึงก็เป็นธรรมเมา ถ้าจิตดิ่งอยู่ปัจจุบันมันจึงเป็นธัมโม อดีต อนาคตเป็นธรรมเมาแล้วจงรักษาดี ๆ มีสองอย่างเท่านั้นแหละ มันเป็นธรรมเมา นอกจากจิตดิ่งอยู่ปัจจุบันนี่เป็นธัมโม มันไม่หมุนตามสังขาร มาหมุนตามสมมติ แล้วมันก็ใช้ได้

นี่ ก็พิจารณา จะเอาพุทโธเป็นมรรคก็ได้ มรรคภาวนาหรือจะเอากายเป็นมรรค พิจารณากาย สังขาร นาม รูป อันนี้ใช้ชำนิชำนาญบุราณท่าน หรือสมัยนี้ก็เหมือนกัน กุลบุตรทั้งหลายที่มาบวชบรรพชาเพศ อุปัชฌาย์ท่านสอน กายนี่แหละเป็นมรรค เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา อนุโลม ปฏิโลม ทั้งเบื้องบนพิจารณาแต่เล็บเท้าขึ้นมาถึงปลายผม เบื้องต่ำพิจารณาตั้งแต่ปลายผมถึงเล็บเท้า นี่แหละเป็นมรรค เอากายเป็นมรรค ต่อเมื่อใดวางหมดแล้ว ไม่ยึดรูปธรรม นามธรรมเป็นตนเป็นตัว สัญญาก็สงบลง สังขาร ความปรุงแต่ง ความเกิด ความดับ โทษ ทุกข์ ภัย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดับลง วิญญาณ ความรู้ รู้ดี รู้ชั่ว รู้บุญ รู้บาป รู้ผิด รู้ถูก ก็ดับลงหมด แล้วมันก็จิตสงบลงได้

ครั้น การรักษาธรรมเมานี่หนา มันมีอดีตอนาคตหุ้มมา อดีตมันเคยได้รู้ ได้เห็น จากเคยได้คุยกัน ว่าเล่นกัน เวลาตั้งจุดพุทโธ พุทโธ มันจะกลายเป็นธรรมเมาไปเสียนี่ ครั้นเผลอก็เป็นธรรมเมาไปแล้ว เมาคิดโน่น คิดนี่ อดีตที่เคยเห็นก็นำมาคิดเป็นธรรมเมาไปแล้วนั่น พุทโธที่จะเอาเป็นบริกรรม จะเอาเป็นอารมณ์ของใจก็ไม่ได้ มันเป็นธรรมเมาไปแล้ว มันปรุงไป แต่งไป เกิดไปดับไปในทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหละ จึงรักษาธรรมเมาไว้

อดีต ก็เป็นธรรมเมาอันหนึ่ง อนาคตก็เป็นธรรมเมาอันหนึ่ง จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน ละปัจจุบัน ตัดตัณหา ตัดกิเลส ตัดมานะทิฐิ ตัดความยึดมั่นถือมั่นของตนให้เสร็จลง แล้วก็สงบได้ รักษาแต่ธรรมเมาอันเดียวนี่แหละ ให้มันเผลอก็เป็นธรรมเมาละ ครั้นไม่เผลอ พุทโธ พุทโธ ดิ่งอยู่ นั่นแหละเป็นอารมณ์ของใจ เป็นมรรคของใจ เป็นที่พึ่งของใจก็ได้ อยู่ที่ รักษา ตัวเดียวเท่านั้นแหละ ทำให้ติดไป เก็บดิ่งอยู่เป็นนิจ ทำอย่างนั้นก็ใช้ได้ละ

.....สัน ทิ ทิฐิไปเปล่า ๆ นั้นก็เป็นธรรมเมาแล้วนะ ไม่ให้คิด ไม่ให้นึกมัวหลงเมายศ เมาเกียรติไปนั่นเป็นธรรมเมา อกุสลาธัมเมา กุสสาธัมเมา มันตั้งอยู่นั่นแหละ อัพยากตธัมเมา เป็นที่พิจารณากำหนดให้จิตดิ่ง ให้จิตสงบดี มันก็ใช้ได้ ครั้นสาวเข้าไปให้ถึงอกุสสลาธัมเมานี้ ความหลง ความโลภ ความโกรธ มันเกิดขึ้นละก็ มันเกิดกิเลส ก็ตัวนั้นแหละตัวหลง ตัวโลภ ตัวโกรธนั่นแหละ ตัวราคะ ตัดกิเลสตัณหา ความเจ็บความไข้ เป็นเหง้าเป็นโคนแห่งกิเลสทั้งหลาย กิเลสทั้งห้า ตัณหานับได้ เป็นอยู่ที่เจตนา ตัณหานี้ ความพอใจมันก็เป็นกิเลส ความหลง ความโลภนี่แหละมันเกิดขึ้น ระงับความหลง ความโลภ ความโกรธ ราคะกิเลสนี้ตัดออกหมดแล้ว ดับหมดแล้ว ความหลงความโลภนี้ เราก็รู้แจ้งได้นี่นา วิญญาภิสังขาร อวิญญาภิสังขาร ส่วนอันเป็นกุศล อกุสสลธัมมานี้ เราละได้ วางได้นี่นา ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร แต่งให้เป็นบุญ เป็นกุศล แต่งให้เป็นทานไปได้นี่ อกุสลาธัมมา นี่มันแต่งมาให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง แต่งมาให้ราคะ ให้กิเลสบังเกิดขึ้นแก่จิตใจของเรา เมื่อมาละมันให้หมดได้ มันก็เป็นธัมโม ครั้นละไม่ได้มันก็เป็นธรรมเมา

อกุ สสลาธัมเมานี่เมาโลภ เมาหลง เมาโกรธไปทุกแห่งทุกหนนั่นแหละ เป็นเจ้าเป็นนายของกิเลสทั้งหลาย กิเลสตัณหา ภยายโอฆะ กามโอฆะก็อันนี้ ภวโอฆะ ทิฐิโอฆะ ก็อันเดียวกันนี้แหละ อวิชชาโอฆะ ดับหมู่นี้ได้หมด ก็เออสบายอกสบายใจ บริกรรมพุทโธไว้ให้สงบเป็นอารมณ์เดียว ทำให้เคยละก็ไม่ได้เชียวละ มันกลายเป็นธรรมเมา มันเคยเมา มันเมาคิด อดีตนั่นแหละมันคิดขึ้น ปรุงขึ้น แต่งขึ้นในเรื่องของสังขาร ความเกิด ความดับ โทษ ทุกข์ ภัย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องของสังขาร เข้ากับสภาพแล้วละก็ เออ เป็นธรรมเมาละคราวนั้น ให้พิจารณากายนี้ให้มากยิ่ง ๆ ในขันธ์สมมติ เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ธาตุทั้งสี่ที่ยึดอยู่นี้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เป็นนามธรรม นามธรรมเกิดขึ้นแล้วมันลืมตัวนะ มันไม่รู้หรอก สังขารน่ะ นามธรรมอันนี้มันปรุงทีแรก ปรุงทั้งบาป ปรุงทั้งบุญ ปรุงทั้งผิดทั้งถูก ทั้งดี ทั้งชั่ว ถ้าไปหลงตามก็เป็นธรรมเมาละ ครั้นไม่หลงก็เป็นธัมโม

เมื่อ ละความโกรธ ความหลงสิ้นไปหมดแล้ว อันนี้ก็เป็นธัมโมอยู่เป็นนิจ ส่วนพิจารณา สังขาร นาม รูปนั้นคงแค่เป็นเหตุที่ว่ากุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา พยากตาธัมมา อพยากตาธัมมา

กุสลาธัมมา กุศลธรรม อกุสลาธัมมา อกุศลธรรม นี้เราแต่งเอาได้ แต่งให้เป็นบุญ แต่งให้เป็นบาป แต่งไม่ให้โลภ แต่งไม่ให้หลง แต่งไม่ให้โกรธ แต่งไม่ให้ราคะกิเลสบังเกิดขึ้น ใช้ได้ ครั้นแต่งไม่ได้ ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของความหลงความโลภละก็ ใช้ไม่ได้ละ เขาแต่งเราหนา ครั้นในแต่งเราละก็ เราเดือดร้อนหนา ความหลง ความโลภ ความโกรธ นี่เราแต่งได้ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร ปุญญาภิสังขารเราแต่งให้เป็นบุญกุศลได้ อปุญญาภิสังขารเราแต่งบาปให้เกิดแก่จิตใจของเราได้ มันก็จะเป็นธรรมเมาอยู่เป็นนิจละ เข้าใจแล้วนะ

ทำ เรื่อย ๆ สมควรแล้วละ เอาหนักเกินไปเป็นธรรมเมานะ ธรรมเมานี่ลำบากหนา มันเอาเรื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์โน่น เวลามันตั้งขึ้นมันเกิดมาแต่ไหนไม่รู้มัน ธรรมเมานี่มันสำคัญ พอเผลอขึ้นมาแล้ว มันเมาคิดเมา นึกไปเสียแล้ว เอาละ สมควร

อย่าเอามากมายเลย เอาทีละน้อย ให้มันรวมเข้า รวมเข้าเถอะ รวมเข้าแล้วเป็นเอกัคคตาได้เป็นดีนะ ชาวกรุงเทพฯ เขามาบ่อยนี่นา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น